top of page

Restless Nights: The Silent Threat to Your Brain and Heart Health

เลื่อนลงสำหรับภาษาไทย


Sleep is a vital biological process essential for maintaining good health. Adults should aim for 5.5–9 hours of sleep per day. According to the Journal of American Medical Association (JAMA), inadequate sleep increases the risk of mortality by up to 12%.


Impact on Heart and Blood Vessel Health from insufficient sleep:

  1. High Blood Pressure:

Research in the European Heart Journal shows sleep deprivation activates the sympathetic nervous system, causing persistent increases in blood pressure—a major risk factor for heart attacks and strokes.

  1. Inflammation

Studies in Nature Reviews Cardiology reveal that sleeplessness triggers inflammation, accelerates arterial plaque buildup, and raises the risk of blockages.

  1. Metabolic Disorders

Findings from the National Institutes of Health indicate that sleep deprivation disrupts sugar and fat metabolism, increasing the risk of diabetes and vascular diseases.

  1. Hormonal Imbalances

Elevated cortisol levels from insufficient sleep damage blood vessel walls and increase clot formation risks.



"Insomnia" is not just a feeling of "fatigue" but a condition that significantly impacts long-term health. Researchers from Harvard Medical School have found that insufficient sleep is directly linked to an increased risk of vascular diseases and systemic cognitive decline.



Insufficient sleep disrupts the brain's recovery processes and increases the risk of Alzheimer's disease (source: Archives of Neurology).

  1. Beta-Amyloid Protein Accumulation:

    Lack of sleep interferes with the brain’s ability to clear beta-amyloid, a key factor in dementia.

  2. Tau Protein Buildup:Insufficient deep sleep correlates directly with tau protein accumulation, another hallmark of Alzheimer’s.

  3. Circadian Rhythm Disruption:Poor sleep disrupts the natural brain rhythm, affecting protein production and elimination.

  4. Brain Inflammation:Chronic sleep deficiency inflames the brain, damaging neurons and accelerating cognitive decline.




Guidelines for Better Sleep (by WHO):

  1. Maintain Consistent Sleep Patterns

Go to bed and wake up at the same time daily, even on weekends. Aim for a sleep window between 10:00 PM and 7:00 AM. Practice deep breathing or meditation can help if you struggle to fall asleep.

  1. Optimize Your Sleep Environment

Keep your bedroom dark, quiet, and cool (below 25°C). Consider using 100% natural essential oils, such as lavender, to promote relaxation.

  1. Reduce Screen Time Before Bed

Avoid electronics at least an hour before sleep. If necessary, use blue light filters and opt for calming activities like reading or listening to soft music.

  1. Adjust Diet and Beverage Habits

Avoid heavy meals and caffeine 2–3 hours before bed, including alcohol. Drink herbal teas or warm water with honey to relax.

  1. Exercise Regularly

Engage in at least 30 minutes of daily physical activity but avoid heavy exercise 2–3 hours before bedtime.



By adopting these strategies, you can enhance your sleep quality, reduce health risks, and support overall well-being.



---------- ภาษาไทย ----------


นอนไม่หลับ เสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือด


การนอนเป็นกระบวนการชีวภาพที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ ควรนอนระหว่าง 5.5-9 ชั่วโมงต่อวัน งานวิจัยจาก Journal of American Medical Association (JAMA) พบว่าการนอนไม่เพียงพอเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตได้ถึง 12%


ผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดจากการนอนพักผ่อนไม่พอ:

  1. ความดันโลหิตสูง

การศึกษาของ European Heart Journal เผยว่า การอดนอนกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเธติก ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

  1. กระบวนการอักเสบ

งานวิจัยใน Nature Reviews Cardiology ชี้ให้เห็นว่า การนอนไม่หลับกระตุ้นการอักเสบในร่างกาย เร่งการสะสมไขมันในหลอดเลือด และเพิ่มความเสี่ยงการอุดตัน

  1. ความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม

นักวิทยาศาสตร์จาก National Institutes of Health พบว่าการอดนอนส่งผลกระทบต่อการเผาผลาญน้ำตาลและไขมัน เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานและความผิดปกติของระบบหลอดเลือด

  1. ความไม่สมดุลของฮอร์โมน

ระดับคอร์ติซอลที่สูงจากการนอนไม่เพียงพอจะทำลายผนังหลอดเลือดและเพิ่มโอกาสการเกิดลิ่มเลือด



“การนอนไม่หลับ” ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้สึก “เหนื่อยล้า” แต่เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพในระยะยาว นักวิจัยจาก Harvard Medical School พบว่าการนอนไม่เพียงพอเชื่อมโยงโดยตรงกับความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและภาวะสมองเสื่อมอย่างเป็นระบบ



การนอนที่ไม่เพียงพอรบกวนกระบวนการฟื้นฟูสมอง และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัลไซ-เมอร์ (ข้อมูลจาก Archives of Neurology)

1. การสะสมโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ (Beta-Amyloid): 

การอดนอนขัดขวางกระบวนการกำจัดโปรตีน ทำให้เกิดการสะสมซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคสมองเสื่อม

2. การสะสมโปรตีน Tau (Tau Protein): 

การนอนหลับลดลง โดยเฉพาะในช่วงลึก มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการสะสมโปรตีน Tau

3. การรบกวนจังหวะชีวภาพ: 

การอดนอนขัดขวางกลไกการทำงานตามธรรมชาติของสมอง ส่งผลต่อการผลิตและกำจัดโปรตีนต่างๆ

4. การอักเสบในสมอง

การนอนที่ไม่พอทำให้เกิดการอักเสบในสมอง ส่งผลต่อความเสียหายของเซลล์ประสาท


องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำแนวปฏิบัติเพื่อการนอนหลับที่มีคุณภาพ:

1. รักษาเวลานอน 

เข้านอนและตื่นในเวลาเดียวกันทุกวัน รวมถึงวันหยุด ควรเข้านอนก่อน 22.00 น. และตื่นไม่เกิน 07.00 น. หากนอนไม่หลับ ให้ใช้เทคนิคผ่อนคลายเช่นการหายใจลึกหรือทำสมาธิ

2. ปรับสภาพแวดล้อมการนอน 

ห้องนอนควรมืด เงียบ และมีอุณหภูมิที่เหมาะสมไม่เกิน 25°C สามารถใช้น้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ 100% เช่นลาเวนเดอร์เพื่อช่วยการนอน ควรจัดห้องให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก

3. หลีกเลี่ยงใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ช่วงก่อนนอน

งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หากจำเป็นควรเปิดโหมดกรองแสงสีน้ำเงิน แนะนำให้ทำกิจกรรมผ่อนคลายแทน เช่น อ่านหนังสือหรือฟังเพลงเบาๆ

4. ปรับการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม 

หลีกเลี่ยงอาหารหนักและคาเฟอีน 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน งดแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหลัง 15.00 น. แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งหรือชาสมุนไพรที่ช่วยผ่อนคลาย

5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ควรออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม งดออกกำลังกายหนัก 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน



การนำวิธีเหล่านี้นี้ไปใช้ จะสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมรู้สึกสดชื่นทั้งกายและใจในทุกวัน




Reference (เอกสารอ้างอิง)

Michiaki Nagai( 2010), Sleep Duration as a Risk Factor for Cardiovascular Disease- a Review of the Recent Literature

Sogol Javaheri (2017), Insomnia and Risk of Cardiovascular Disease

Karine Spiegel (2005), Sleep loss: a novel risk factor for insulin resistance and Type 2 diabetes

NIH research matter (April 2018), Sleep deprivation increases Alzheimer’s protein

NIH director’s blog (Feb 2019), Sleep Loss Encourages Spread of Toxic Alzheimer’s Protein

AlmudenaFuster-Matanzo (2013), Role of Neuroinflammation in Adult Neurogenesis and Alzheimer Disease: Therapeutic Approaches

5 views0 comments

Related Posts

See All

Comentarios


bottom of page